วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สูตรการบิดลูกบิด (Rubik) แถวที่สอง
สูตรการหมุน Rubik แถวที่ 2หลังจากที่เราทำแถวแรกกันได้แล้วนะครับ เราก็มาทำแถวที่สองกันต่อเลย แถวที่สองนี้ทำง่ายหน่อยนะครับ อาศัยความเข้าใจนิดนึงก็ใช้ได้เลยครับ

หลังจากทำได้หน้าเดียว (อย่างเป็นระเบียบ) เรียบร้อยแล้ว ให้เราบิดแถวแรกที่เราทำได้ดังนี้ .. (ทางซ้ายหรือขวาก็ได้นะครับ)
ให้ได้สีหน้าที่เหลือทั้ง 4 หน้า ที่ไม่ใช่ด้านบน ตรงกับสีที่ถูกต้องอย่างในรูปนะครับ
เราก็พลิกสีที่เราใช้เป็นหลักในตอนแรก (คือสีเหลือง) ลงไปข้างล่างนะครับ ทีนี้เราก็เล็งสีตรงที่ผมวงเอาไว้ ว่าสีอะไรจะมาใส่ที่ตรงนี้ ในที่นี้สีก็ควรจะเป็นอย่างรูปเล็กที่ผมเอามาให้ดูกันใช่ไหมครับ
ให้เรามองหาสีดังกล่าวที่อยู่คู่กัน แล้วพยายามบิดให้ได้อย่างในรูป ซึ่งตรงนี้ต้องเลือกหน่อย เพราะบางทีมันก็หาตำแหน่งนี้ยากซักหน่อย
ขั้นแรกเลย ให้เราหันหน้าที่เป็นสีแดงเข้ามาหาตัวเรา และให้ด้านน้ำเงิน ซิ่งมีเม็ดที่เราต้องการอยู่ทางด้านขวา จากนั้นให้บิดด้านบนไปทางขวาหนึ่งครั้ง
แล้วก็บิดด้านหน้าทวนเข็มนาฬิกาหนึ่งครั้ง
แล้วก็บิดด้านบนกลับมาทางด้านซ้ายหนึ่งครั้ง
แล้วเราก็บิดด้านหน้ากลับมาแบบตามเข็มนาฬิกาหนึ่งครั้ง ตรงนี้จะเห็นว่าสีแดงกับสีน้ำเงินที่อยู่ด้านบนเข้าคู่กันแล้วครับ
แล้วเราก็ต้องจัดให้มันได้ตำแหน่งเดิม นั่นคือบิดด้านบนไปทางซ้ายหนึ่งครั้ง
แล้วก็บิดด้านขวาขึ้นมาข้างบนหนึ่งครั้ง
แล้วก็บิดด้านบนไปทางขวาหนึ่งครั้ง
ทีนี้เกือบเข้าที่แล้วครับ แล้วก็บิดด้านขวาลงมา
ได้แล้วครับ
จากนั้นเราก็ทำจุดที่เหลือให้ครบ ทีนี้มีอยู่สองสามอย่างที่อยากจะบอกครับ คือ1. ถ้าเม็ดที่เราต้องการเนี่ย ไม่อยู่ด้านขวาเหมือนในตัวอย่าง แต่ดันไปอยู่ข้างซ้าย วิธีการบิด ก็เหมือนกันทุกอย่างครับ แต่ ... ให้กลับการทำกัน ซ้ายเป็นขวา ทวนเข็มเป็นตามเข็ม ด้านซ้ายเป็นด้านขวา ด้านขวาเป็นด้านซ้าย แล้วจะเข้าล๊อคเหมือนกันครับ2. ให้สังเกตุเม็ดสีด้านบน เช่น ถ้าเป็นสีขาว ให้เราเลือกเม็ดที่ไม่มีสีขาวเอามาทำ เพราะมันจะลงตัว แต่ถ้ามีสีขาวอยู่ ยังไงมันก็ไม่ลงครับ3. ถ้าสมมุติเหมือนตัวอย่างเลย คือสีแดงและสีน้ำเงิน แต่เม็ดที่ต้องการก็อยู่ตรงนั้นแหละ แต่สลับสีกันระหว่างแดงกับน้ำเงิน ให้เราบิดแบบขั้นตอนนี้ทิ้งไป 1 ชุดครับ สีแดงน้ำเงินที่ต้องการ จะมาอยู่ด้านบน แล้วเราก็ค่อยบิดกลับลงมาให้ถูกตำแหน่ง
ขั้นตอนที่ทำขั้นที่สองนี้ ไม่เยอะมาก แต่ต้องทำความเข้าใจกับมันนิดนึงครับ ว่าทำไมต้องบิดแบบนี้ ขนาดนี้ ถ้าเข้าใจแล้วจะง่ายเลยครับ จะได้สองแถวได้เร็วมากๆ ครับ
ก็เหลือขึ้นตอนที่ 3 นะครับ ... อิอิ

วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2552

วิธีการทำแมโครในไมโครซอฟต์เวิร์ด

Macro คืออะไรMacro เป็นลักษณะการใช้งานพิเศษที่ผู้ใช้โปรแกรมประยุกต์ในกลุ่มของ Microsoft Office สามารถเรียกใช้งานเพื่อการสร้างคำสั่งขึ้นใหม่ซึ่งจะช่วยให้การใช้งานง่ายขึ้นและประหยัดเวลาในการใช้งานบางอย่างที่ต้องทำเป็นขั้นตอนซ้ำ ๆการสร้าง Macro ใน Microsoft Wordการบันทึก Macro
เปิดเอกสารที่ต้องการจะบันทึก Macro
คลิกที่เมนู Tools เลือกMacro > New Macro…


พิมพ์ชื่อของคำสั่งที่ต้องการใน Macro name box จากนั้นใน Store macro in box คลิกเลือกว่าต้องการเก็บ macro ที่สร้างนี้ไว้ที่ใด แล้วคลิกปุ่ม OK เพื่อเริ่มการบันทึก

การสร้างเมนูคำสั่งใน MS Office ด้วย Macro
บนจอภาพจะปรากฏกรอบแสดงปุ่มควบคุมการบันทึก และที่ pointer ของเมาส์จะปรากฏสัญลักษณ์เครื่องบันทึกเทป ณ ขณะนั้นถ้ามีการพิมพ์ หรือ คลิกเลือกคำสั่งใด กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นก็จะถูกเก็บบันทึกไว้ตามขั้นตอนที่เกิดขึ้น เมื่อต้องการหยุดการบันทึกชั่วคราวก็กดปุ่ม Pause หรือ กดปุ่ม Stop เมื่อสิ้นสุดกิจกรรมที่ต้องการบันทึกสำหรับ macro นั้น
การเรียกใช้ Macro
คลิกที่เมนู Tools เลือกคำสั่ง Macro > Macros… จะพบ Macro ที่ได้บันทึกไว้ในกรอบรายชื่อของ Macro
ถ้าต้องการให้ macro ใดทำงาน ให้คลิกเลือกชื่อ macro นั้น แล้วคลิกที่ปุ่ม Run
การแก้ไข Macro
คลิกที่เมนู Tools เลือกคำสั่ง Macro4Macros… คลิกเลือกชื่อ macro ที่ต้องการแก้ไข แล้วคลิกที่ปุ่ม Edit
จะปรากฏวินโดว์ของ Microsoft Visual Basic ซึ่ง Word กำหนดไว้ให้เป็น Editor พร้อมกับวินโดว์ที่แสดง Code คำสั่ง ซึ่ง Word ได้แปลงขึ้นจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้บันทึกไว้ ในกรณีที่เข้าใจคำสั่ง Visual Basic ก็สามารถทำการแก้ไข code ได้ตามต้องการ
เมื่อต้องการกลับไปที่ Word ให้คลิกที่ไอคอนของ Word บน Toolbar
การสร้างเมนูคำสั่งสำหรับเรียกใช้ Macroเมื่อได้มีการสร้าง Macro แล้ว และต้องการจัดทำเป็นเมนูเพื่อให้สามารถเรียกใช้ Macro ได้โดยสะดวก ก็สามารถทำได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้
เปิด Document หรือ Template ที่มีได้บันทึก Macro ไว้
คลิกที่เมนู Tools เลือกคำสั่ง Customize… เลือกแถบ Commands ที่ Categories box คลิกที่ Macros
คลิกที่ Macro ที่ต้องการ แล้วลากเมาส์เพื่อนำ Macro ไปวางที่ Menu bar
คลิกปุ่ม Close
เมื่อต้องการเรียกใช้ Macro นั้น ก็สามารถคลิกที่เมนูได้ตามต้องการ
Macro Security ใน Microsoft Officeเนื่องจากปัญหาการระบาดของ macro virus โปรแกรมในกลุ่ม Microsoft Office จึงกำหนดให้มีการตั้ง security สำหรับการตรวจหา macro และเตือนผู้ใช้ว่ามี custom macro ในแฟ้มที่กำลังจะเปิด ผู้ใช้ต้องระบุว่าจะต้องการเปิดแฟ้มในลักษณะที่ยอมให้ macro ทำงานหรือไม่ (diable หรือ enable macro)ใน Microsoft Office 2000 ถ้าต้องการปรับเปลี่ยน Security ของ Macro ให้คลิกที่ Tools เลือกคำสั่ง Macro > Security… ซึ่งจะพบว่ามีอยู่ 3 ระดับ ดังนี้
High ถ้าเลือกระดับนี้ Macro ที่ได้ผ่านการรับรองเท่านั้นที่จะยอมให้ทำงานได้ Macro อื่น ๆ จะไม่สามารถทำงานได้
Medium ถ้าเลือกระดับนี้ ผู้ใช้งานจะต้องเป็นคนกำหนดเองว่าจะยอมให้ macro ทำงานหรือไม่
Low ถ้าเลือกระดับนี้ จะเป็นการยอมให้ macro ทำงานได้ทันทีที่มีการเปิดแฟ้มนั้น ๆ ซึ่งเป็นระดับที่ไม่ปลอดภัยในเรื่องการป้องกัน virus
ในกรณีที่มีการสร้าง macro ไว้ใช้งาน อาจจะเลือก Security ระดับ Medium และก่อนจะเปิดแฟ้มที่มี macro ควรจะให้แน่ใจว่ามาจากแหล่งที่เชื่อถือได้
1.บนเมนู เครื่องมือ ในโปรแกรม Word ให้ชี้เมาส์ไปที่ แมโคร และคลิก บันทึกแมโครใหม่ เพื่อแสดงกล่องโต้ตอบ บันทึกแมโคร
2. ในช่อง ชื่อของแมโคร ให้พิมพ์คำว่า InsertLegalText
3. ในช่อง เก็บแมโครไว้ที่ ให้คลิก เอกสารทั้งหมด (Normal.dot)
4. คลิก ตกลง แถบเครื่องมือ การบันทึก จะปรากฏ

5. พิมพ์ข้อความต่อไปนี้: Copyright XYZ Corporation. You may not modify, copy, or distribute any information contained in this document without our prior permission.
6. บนแถบเครื่องมือ การบันทึก ให้คลิก หยุดการบันทึก
7. เปิดเอกสาร Word ใหม่อีกเอกสารหนึ่ง และบนเมนู เครื่องมือ ให้ชี้เมาส์ไปที่คำว่า แมโคร และคลิก แมโคร เพื่อแสดงกล่องโต้ตอบ แมโคร
8. ในรายการ แมโครใน ให้คลิก Normal.dot (แม่แบบส่วนรวม)
9. ในรายการ ชื่อแมโคร ให้คลิก InsertLegalTextและคลิก เรียกใช้ ข้อความที่คุณพิมพ์ในขั้นตอนที่ 5 จะปรากฏในเอกสารใหม่

วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

คำสั่งเบื่องต้นของภาษา C

รูปแบบคำสั่งในภาษาซี มีกฏเกณฑ์ในการเขียนคำสั่ง ดังนี้
คำสั่งทุกคำสั่งต้องเขียนด้วยอักษรตัวเล็กเสมอ เช่นคำสั่ง printf , scanf , for
ทุกคำสั่งจะใช้เครื่องหมาย ; แสดงการจบของคำสั่ง เช่น printf(“Hello”) ;
การเขียนคำสั่ง จะเขียนได้แบบอิสระ (Free Format) คือ สามารถเขียนหลายๆคำสั่ง
Function
หรือฟังก์ชัน เป็นแนวความคิดที่สำคัญในภาษาซี ซึ่งจะมีทั้งฟังก์ชันมาตรฐานและฟังก์ชันที่สร้างขึ้นเอง แต่ฟังก์ชันที่สำคัญที่สุดในภาษาซี คือ ฟังก์ชัน main ซึ่งภาษาซีจะเริ่มต้นทำงานในชุดคำสั่งที่อยู่ในฟังก์ชัน main ก่อน ฟังก์ชันในภาษาซีแบ่งได้เป็น 2 ส่วน ได้แก่ ฟังก์ชันที่เป็นโปรแกรมหลักหรือฟังก์ชันหลักที่ถูกกำหนดให้มีเพียงฟังก์ชันเดียวเท่านั้น นั่นก็คือ ฟังก์ชัน main สำหรับฟังก์ชันในส่วนที่ 2 เป็นฟังก์ชันที่ไม่ใช่ฟังก์ชันหลัก ซึ่งมีกี่ฟังก์ชันก็ได้

1.ฟังก์ชั่น printf()
รูปแบบ
เป็นฟังก์ชันหนึ่งที่เก็บไว้ในไฟล์ stdio.h ใช้สำหรับแสดงผลข้อมูล เนื่องจาก Turbo C ไม่มีฟังก์ชันเฉพาะในการแสดงผลข้อมูล จึงจำเป็นต้องเรียกใช้ฟังก์ชันที่อยู่ใน Library ออกมาใช้งาน ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า ฟังก์ชัน printf() เป็นโปรแกรมย่อยสำหรับการพิมพ์ข้อมูล ตัวแปร นิพจน์ หรือ ข้อความต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในพารามิเตอร์ภายในวงเล็บ ( ) ออกทางจอภาพ
ตัวอย่าง printf()
เป็นสตริงที่มีข้อความและรูปแบบของการพิมพ์โดยอยู่ในเครื่องหมาย " " แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1. ข้อความที่จะพิมพ์เพื่อแสดงให้ทราบ เช่น printf("Hello");
2. รูปแบบการพิมพ์หรือแสดงผล โดยมีเครื่องหมาย % หรือ \ กำกับไว้หน้าตัวอัขระ เช่น printf("You are %d years old. \n",age);

2.ฟังก์ชัน scanf()
รูปแบบ
เมื่อโปรแกรมทำงานถึงฟังก์ชันนี้จะหยุดเพื่อให้ป้อนข้อมูล  โดยข้อมูลที่ป้อนจะแสดงบนจอภาพ เมื่อป้อนข้อมูลเสร็จกด Enter ข้อมูลทั้งหมดจะเก็บในตัวแปร var ชนิดของข้อมูลที่กำหนดให้กับตัวแปร var จะถูกกำหนดโดยตัวกำหนดชนิดข้อมูลซึ่งระบุในส่วนของ format code ตัวกำหนดชนิดข้อมูลของฟังก์ชัน scanf()  จะเหมือนกับของฟังก์ชันprintf()   ฟังก์ชัน  scanf()  จะทำให้เคอร์เซอร์ ขึ้นบรรทัดใหม่หลังจากกด Enter
ฟังก์ชัน getchar()
รหัสรูปแบบ ชนิดตัวแปร ลักษณะการแสดงผลออกจอภาพ
%d int ใช้แสดงข้อมูลที่เป็นเลขจำนวนเต็มฐานสิบ
%ld long int ใช้แสดงข้อมูลที่เป็นเลขจำนวนเต็มฐานสิบแบบ long
%u unsigned int ใช้แสดงข้อมูลที่เป็นเลขจำนวนเต็มฐานสิบแบบ unsigned
%c char ใช้แสดงข้อมูลที่เป็นตัวอักษร
%s string ใช้แสดงข้อมูลที่เป็นตัวแปรสตริงหรือชุดตัวอักษร
%o int (octal) ใช้แสดงข้อมูลที่เป็นเลขฐานแปด
%x int (hexa) ใช้แสดงข้อมูลที่เป็นเลขฐานสิบหก
%f float ใช้แสดงข้อมูลที่เป็นเลขทศนิยม ที่ไม่มีเลขยกกำลัง
%e float, double ใช้แสดงข้อมูลที่เป็นเลขทศนิยม ที่มีเลขชี้กำลัง
%lf double ใช้แสดงข้อมูลที่เป็นเลขทศนิยมแบบ double
ตัวอย่าง scanf ()
โปรแกรมแสดงการใช้ฟังก์ชัน scanf () และใช้รูปแบบ %dในการรับข้อมูลจากแป้นพิมพ์2 จำนวน
#include
main()
{
int x1, x2 ;
scanf("%d %d",&x1,&x2);
}

เมื่อเครื่องทำฟังก์ชัน scanf() เครื่องจะรอรับค่า 2 ค่าที่เป็นจำนวนเต็มจากแป้นพิมพ์แล้วเก็บลงตัวแปร x1 และ x2 การป้อนข้อมูลจะต้องเป็นชนิดข้อมูลที่สอดคล้องกลับรูปแบบ และต้องมีการเว้นระยะระหว่าง รูปแบบให้สอดคล้องกับส่วนควบคุมด้วย ข้อมูลที่ป้อนจะต้องมีช่องว่าง 1 ช่องระหว่างเลข 2 จำนวนเพื่อให้ สอดคล้องกับที่ได้กำหนดไว้ในส่วนควบคุม ดังเช่น 123 145
และถ้าส่วนควบคุมมีคอมม่าคั่นระหว่างรูปแบบ เช่น
scanf ("%d,%d",&x1,&x2); การป้อนข้อมูลก็จะต้องมีคอมม่าคั่นระหว่างเลข 2 จำนวน ดังเช่น 123,145


  3.ฟังก์ชัน getchar()
ใช้สำหรับป้อนตัวอักษรผ่านทางแป้นพิมพ์โดยจะรับตัวอักษรเพียง 1 ตัวเท่านั้น และแสดงตัวอักษรบนจอภาพรูปแบบ ch = getchar(); เมื่อโปรแกรมทำงานถึงคำสั่งนี้จะหยุดเพื่อให้ป้อนตัวอักษร 1 ตัว หลังจากนั้นกด Enter ตัวอักษรที่ป้อนจะถูกเก็บไว้ในตัวแปร ch  ซึ่งเป็นชนิดตัวอักษรและเคอร์เซอร์จะขึ้นบรรทัดใหม่  ฟังก์ชัน getchar()กำหนดในไฟล์ stdio.h เช่นเดียวกับฟังก์ชัน scanf()
ฟังก์ชัน getchar() ใช้สำหรับป้อนตัวอักษรผ่านทางแป้นพิมพ์โดยจะรับตัวอักษรเพียง 1 ตัวเท่านั้น และแสดงตัวอักษรบนจอภาพ
รูปแบบ

กำหนดในไฟล์ stdio.h เช่นเดียวกับฟังก์ชัน scanf()

ตัวอย่างฟังก์ชัน getchar()
#include
#include
main()
{
clrscr()
int itsaret
printf("itsaret);
getchar();
getchar();
}

4.ฟังก์ชัน getche()  และ getch()
รูปแบบ


ฟังก์ชัน getche() จะรับตัวอักษร 1 ตัวที่ป้อนทางแป้นพิมพ์  และจะแสดงตัวอักษรบนจอภาพ เมื่อป้อนข้อมูลเสร็จไม่ต้องกด Enter  และเคอร์เซอร์จะไม่ขึ้นบรรทัดใหม่ ฟังก์ชัน getch()  จะคล้ายกับฟังก์ชัน getche()  ต่างกันตรงที่จะไม่แสดงตัวอักษรขณะป้อนข้อมูล  ฟังก์ชัน getche() และ getch()  กำหนดในไฟล์ conio.h ดังนั้นจะต้องระบุไฟล์ดังกล่าวในโปรแกรม
ตัวอย่างฟังก์ชัน eetche() และgetch()
#include
#include
main()
{
clrscr()
int itsaret
printf("itsaret);
getch();
}

5.ฟังก์ชัน gets
ฟังก์ชัน gets() ใช้สำหรับข้อมูลชนิดสตริงก์หรือข้อความซึ่งป้อนทางแป้นพิมพ์  
รูปแบบ


 เมื่อโปรแกรมทำงานถึงคำสั่งนี้จะหยุดเพื่อให้ป้อนข้อความ  เมื่อป้อนเสร็จแล้วกด Enter ข้อความ ทั้งหมดจะถูกเก็บไว้ในอาร์เรย์สตริงก์ str โดย carriage return (จากการกด Enter) จะแทนด้วยสตริงก์ศูนย์ ฟังก์ชัน gets() จะทำให้เคอร์เซอร์ขึ้นบรรทัดใหม่ หลังจากกด Enter กำหนดในไฟล์   stdio.h
ตัวอย่างฟังก์ชัน gets
char ตัวแปร[จำนวนตัวอักษร];
get(ตัวแปร);

ประวัติความเป็นมาของภาษา ซี

ประวัติภาษาซี

ภาษาซีเป็นภาษาที่ถือว่าเป็นทั้งภาษาระดับสูงและระดับต่ำ ถูกพัฒนาโดยเดนนิส ริดชี (Dennis ritche) แห่งห้องทดลองเบลล์ (Bell laboratories) ที่เมอร์รีฮิล มลรัฐนิวเจอร์ซี่ โดยเดนนิสได้ใช้หลักการของภาษา บีซีพีแอล (BCPL : Basic Combine Programming Language) ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยเคน ทอมสัน (Ken tomson) การออกแบบและพัฒนาภาษาซีของเดนนิส ริดชี มีจุดมุ่งหมายให้เป็นภาษาสำหรับใช้เขียนโปรแกรมปฏิบัติการระบบยูนิกซ์ และได้ตั้งชื่อว่า ซี (C) เพราะเห็นว่า ซี (C) เป็นตัวอักษรต่อจากบี (B) ของภาษา BCPL ภาษาซีถือว่าเป็นภาษาระดับสูงและภาษาระดับต่ำ ทั้งนี้เพราะ ภาษาซีมีวิธีใช้ข้อมูลและมีโครงสร้างการควบคุมการทำงานของโปรแกรมเป็นอย่างเดียวกับภาษาของโปรแกรมระดับสูงอื่นๆ จึงถือว่าเป็นภาษาระดับสูง ในด้านที่ถือว่าภาษาซีเป็นภาษาระดับต่ำ เพราะภาษาซีมีวิธีการเข้าถึงในระดับต่ำที่สุดของฮาร์ดแวร์ ความสามารถทั้งสองด้านของภาษานี้เป็นสิ่งที่เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ความสามารถระดับต่ำทำให้ภาษาซีสามารถใช้เฉพาะเครื่องได้ และความสามารถระดับสูง ทำให้ภาษาซีเป็นอิสระจากฮาร์ดแวร์ ภาษาซีสามารถสร้างรหัสภาษาเครื่องซึ่งตรงกับชนิดของข้อมูลนั้นได้เอง ทำให้โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาซีที่เขียนบนเครื่องหนึ่ง สามารถนำไปใช้กับอีกเครื่องหนึ่งได้ ประกอบกับการใช้พอยน์เตอร์ในภาษาซี นับได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของการเป็นอิสระจากฮาร์ดแวร



ภาษาซีเป็นภาษาที่มีลักษณะเด่นพอสรุปได้ดังนี้

- เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่มีการพัฒนาขึ้นใช้งานเพื่อเป็นภาษามาตรฐานที่ไม่ขึ้นกับโปรแกรมจัดระบบงานและไม่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์

- เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่อาศัยหลักการที่เรียกว่า "โปรแกรมโครงสร้าง" จึงเป็นภาษาที่เหมาะกับการพัฒนาโปรแกรมระบบ

- เป็นคอมไพเลอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง ให้รหัสออบเจ็กต์สั้น ทำงานได้รวดเร็ว เหมาะกับงานที่ต้องการ ความรวดเร็วเป็นสำคัญ

- มีความคล่องตัวคล้ายภาษาแอสแซมบลี ภาษาซีสามารถเขียนแทนภาษาแอสแซมบลีได้ดี ค้นหาที่ผิดหรือ แก้โปรแกรมได้ง่าย ภาษาซีจึงเป็นภาษาระดับสูงที่ทำงานเหมือนภาษาระดับต่ำ

- มีความคล่องตัวที่จะประยุกต์เข้ากับงานต่างๆ ได้เป็นอย่างดี การพัฒนาโปรแกรม เช่น เวิร์ดโพรเซสซิ่ง สเปรดชีต ดาตาเบส ฯลฯ มักใช้ภาษาซีเป็นภาษาสำหรับการพัฒนา

- เป็นภาษาที่มีอยู่บนเกือบทุกโปรแกรมจัดระบบงาน มีในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 8 บิต ไปจนถึง 32 บิต เครื่องมินิคอมพิวเตอร์ และเมนเฟรม

- เป็นภาษาที่รวมข้อดีเด่นในเรื่องการพัฒนา จนทำให้ป็นภาษาที่มีผู้สนใจมากมายที่จะเรียนรู้หลักการของภาษา และวิธีการเขียนโปรแกรม ตลอดจนการพัฒนางานบนภาษานี้

จุดเริ่มต้นของภาษาซี

ภาษาซีเกิดขึ้นในปี ค.ศ.1972 โดย Dennis Ritchie แห่ง Bell Labs โดยภาษาซีนั้นพัฒนามาจาก ภาษา B และจากภาษา BCPL ซึ่งในช่วงแรกนั้นภาษาซีถูกออกแบบให้ใช้เป็นภาษาการเขียนโปรแกรมในระบบ UNIX และเริ่มมีคนสนใจมากขึ้นในปี ค.ศ.1978 เมื่อ Brain Kernighan ร่วมกับ Dennis Ritchie พัฒนามาตรฐานของภาษาซีขึ้นมา คือ K&R (Kernighan & Ritchie) และทั้งสองยังได้แต่งหนังสือชื่อว่า "The C Programming Language" โดยภาษาซีนั้นสามารถจะปรับใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์รูปแบบต่างๆได้ ต่อมาในช่วง ปี ค.ศ.1988 Ritchie และ Kernighan ได้ร่วมกับ ANSI (American National Standards Institute) สร้างเป็นมาตรฐานของภาษาซีขึ้นมาใหม่มีชื่อว่า "ANSI C"

ภาษาซีนั้นจัดเป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมที่นิยมใช้งาน ซึ่งภาษาซีจัดเป็นภาษาระดับกลาง (Middle-Level Language) เหมาะกับการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง (Structured Programming) โดยมีคุณสมบัติโดดเด่นอย่างหนึ่งคือ มีความยืดหยุ่นมาก กล่าวคือ สามารถทำงานกับเครื่องมือต่างๆ สามารถปรับเปลี่ยนการเขียนโปรแกรมในรูปแบบต่างๆได้ เช่น สามารถเขียนโปรแกรมที่มีความยาวหลายบรรทัดให้เหลือความยาว 2-3 บรรทัดได้ โดยมีการผลการทำงานที่เหมือนเดิมครับ

เหตุผลที่ควรเรียนภาษาซี
ก็เนื่องจากภาษาซีเป็นภาษาแบบโครงสร้างที่สามารถศึกษาและทำความเข้าใจได้ไม่ยาก อีกทั้งยังสามารถเป็นพื้นฐานในการเขียนโปรแกรมภาษาอื่นๆ ได้อีก เช่น C++, Perl, JAVA เป็นต้น

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ประวัติส่วนตัว :

ชื่อ นารี เชืองศิลป์
ชื่อเล่น น้องกิ๊กสุดสวย
นิสัย ทำตัวน่ารักไปวันๆ
ชั้น ปวช। २/३ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี
E - mail: nareechuangsilp@gmail.com